ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี

ชาวนาไทยส่วนใหญ่ยังคงเคยชินกับปุ๋ยเคมี ใครบอกให้ไถกลบตอซังทำปุ๋ย ไม่มีใครสน…ในขณะที่อีกส่วนหันมาทำเกษตรอินทรีย์ พึ่งพาแต่วัสดุธรรมชาติ มองปุ๋ยเคมีเป็นปีศาจร้าย

คลิก: http://www.kwan-jp.com/?p=393

แล้วชาวนาญี่ปุ่นผู้มีสถานะทางสังคมต่างจากชาวนาไทยราวฟ้ากับเหว ใช้ปุ๋ยกันแบบไหน…จากคำบอกเล่าของ อ.ทซึโทมุ มิยาโกชิ (Mr.Tsutomu Miyakoshi) ที่ปรึกษาเชี่ยวชาญพิเศษ (ข้าว) บริษัท สยามคูโบต้า คอร์ปอเรชั่น จำกัด อดีตผู้จัดการฝ่ายบริหารการเกษตรป่าไม้และประมง ประจำ จ.นีกะตะ

ชาวนาญี่ปุ่นไม่ได้มองปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี แบ่งแยกสุดโต่งเหมือนอย่างชาวนาบ้านเรา

เขาใช้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ และเคมีอย่างละครึ่ง จะมีบ้างบางส่วนทำเกษตร อินทรีย์โดยเฉพาะ เพื่อส่ง เข้าตลาดพรีเมียม ได้ราคา สูงกว่าปกติ 20%

สำหรับชาวนาที่ปลูก แบบทั่วไปจะเริ่มใช้ปุ๋ยอินทรีย์ก่อนตั้งแต่ขั้นตอนเตรียมดิน ไถกลบ ไม่เผา ตอซัง จากนั้นจะใส่ปุ๋ยเคมี 3 ครั้ง…ครั้งแรก ตั้งแต่เริ่มปลูก ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 15-10-10 หรือ 20-15-15 ใส่ไปพร้อมกับการดำนาด้วยรถจักรกล

การใส่ปุ๋ยครั้งที่ 2 ให้แต่ปุ๋ยไนโตรเจนกับโปแตสเซียม เพราะฟอสฟอรัสมีในดินเพียงพอแล้ว ไม่ต้องใส่เพิ่ม…ส่วนครั้งสุดท้าย จะใช้ปุ๋ยเคมีสูตรแรก ช่วงหลังข้าวออกรวงแล้ว 10-20 วัน

สัดส่วนและอัตราการใช้จะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับชนิดและความ สมบูรณ์ของดินและพันธุ์ข้าว เพราะเขาให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินที่จะปลูก

คลิก: http://www.myhealthteeth.org/?p=742

แต่สูตรที่ว่ามานั้น ปัจจุบันล้าสมัยไปแล้ว ล่าสุดได้วิจัย ปุ๋ยละลายช้า ใส่แค่ครั้งเดียวตอนเริ่มปลูก ประหยัดแรงงาน ประหยัดเงิน ราคาแพงกว่าปุ๋ยธรรมดาไม่มากนัก

ปุ๋ยสูตรใหม่เขาได้วิจัยให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด แต่ละสายพันธุ์ แถมใช้ได้ทุกสภาพดิน ทำให้เป็นที่นิยมจากเกษตรกรญี่ปุ่นมาก

จะเห็นได้ว่า ชาวนาญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับปุ๋ยทั้ง 2 ชนิด เพราะถือว่าปุ๋ยอินทรีย์ให้ผลระยะยาว ฉะนั้นต้องใส่ตั้งแต่ก่อนปลูก จึงจะค่อยย่อยสลายปลดปล่อยธาตุอาหารให้พืชได้

ที่สำคัญญี่ปุ่นมีหน่วยงานเฉพาะคอยเก็บข้อมูล…วัสดุอินทรีย์ชนิดใด ใช้เวลาเท่าไรย่อยสลาย แล้วข้าวจะเอาไปใช้ได้ช่วงไหน ทำจนเป็นสูตรสำเร็จจนชาวนาในประเทศใช้กันเป็นปกติ

เครดิต: ไทยรัฐ